เธอยัง

สองคนหนึ่งใจ

(ฉันคิด) ฐานะอะไร

วันวาเลนไทน์

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

เปิดตัว หุ่นยนต์สระผม เทคโนโลยีสุดล้ำ


เปิดตัว หุ่นยนต์สระผม  เทคโนโลยีสุดล้ำ
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นโชว์ประดิษฐ์เทคโนโลยีสามมิติที่สามารถสระผมให้กับมนุษย์ โดยที่นอนอยู่เฉยมันก็สามารถสระและนวดให้เสร็จสรรพ  ซึ่งหุ่นยนต์สระผมตัวนี้ มีลักษณะคล้ายกับเก้าอี้หมอฟันที่มีอ่างสระผม เคลื่อนไหวด้วย ‘แขน’ ทั้งสองข้างร่วมกับ ‘นิ้วมือ’ 16 นิ้วคอยนวดศีรษะขณะที่ยาสระผมและน้ำพุ่งออกมา
สำหรับแนวคิดการผลิตหุ่นยนต์ตัวนี้คือ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยซึ่งมีบุคลากรไม่เพียงพอ อีกทั้งประชากรยิ่งเพื่อสูงขึ้น หากมีเจ้าหุ่นยนต์ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระได้  ทั้งนี้ บริษัทพานาโซนิค ประเทศญี่ปุ่น ได้นำมาแสดงที่งานแสดงสินค้าแห่งหนึ่งในโตเกียว เรียกความสนใจจากสื่อมวลชนได้เป็นอย่างดี

จัตุรัสแห่งหุ่นยนต์ ROBOSQUARE



โระโบะสแควร์ได้ก่อตั้งขึ้นที่เมืองฟูกุโอกะ ด้วยจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีการสร้างหุ่นยนต์ และเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ โระโบะสแควร์นำเสนอกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ และให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปในเรื่องของหุ่นยนต์ ด้วยความหวังในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงให้กลายมาเป็นความจริง







ปัจจุบันมหาวิทยาลัยคิวชิวและวาเซดะมีห้องแลบที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์และมีความร่วมมือกับ ROBOSQUARE ซึ่งทั้งสองมหาวิทยาลัย
จะสามารถนำเสนอผลงานการวิจัยของพวกเขาแก่สาธารณะชนได้ที่นี่ในบรรยากาศที่น่าเพลิดเพลินและชวนติดตาม ROBOSQUARE
เป็นประตูเปิดสู่ความรู้และกิจกรรมภาคปฏิบัติต่าง ๆ สำหรับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการเสาะหาความรู้และความเข้าใจในโลกแห่ง
หุ่นยนต์อันวิเศษสุด ที่นี่ยังมีการจัดเวิร์คช้อปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับครูที่ต้องการผนวกคอร์สการสร้างหุ่นยนต์
เป็นหนึ่งในคอร์สการศึกษาวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน คุณจะได้ปฏิสัมพันธ์กับหุ่นยนต์ด้วยตัวคุณเองและสัมผัสโลกแห่งอนาคตอันก้าวล้ำ
ของหุ่นยนต์

ที่ตั้ง: 2-3-2 Momochihama, Sawara-ku, Fukuoka.
Tel: +81-92-821-4100
FAX : +81-92-821-4110
เวลาเปิด: 10.00 - 19.00
วันหยุด: ปิดทุกวันพุธที่สองของเดือน (แต่ไม่ปิดในเดือนมกราคม กรกฎาคม และสิงหาคม) ปิด 31 ธันวาคม – 2 มกราคม
ค่าเข้าชม: ฟรี
วิธีไป:
- Fukuoka Airport to Robosquare, 19 minutes by subway and 6 minutes by bus.
- Hakata st. bus center to Robosquare, 25 minutes by bus.
- JR Hakata st. to Robosquare, 30 minutes by bus.
- Fujisaki bus center to Robosquare, 6 minutes by bus.
- Nishitetsu Tenjin bus center to Robosquare, 20 minutes by bus.

อาซิโม หุ่นยนต์สุดล้ำแห่งโลกเทคโนโลยี

โลกแห่งเทคโนโลยีใบนี้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะมนุษย์เราไม่เคยหยุดคิดค้น และทดลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบคำถามในสิ่งที่สงสัยใคร่รู้ ถึงทุกวันนี้ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากการค้นคว้าและพัฒนาขึ้นมาทั้งนั้น ความชาญฉลาดของมนุษย์เช่นนี้ทำให้เกิดความคิดที่จะสร้างหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2529 โดยได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนในที่สุด ความฝันก็กลายเป็นความจริง อาซิโม ASIMO หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ตัวแรกได้ถือกำเนิดขึ้นในปี 2543
          จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ASIMO กลับมาตอกย้ำความสำเร็จและสร้างความตาตื่นใจให้กับทุกคน โดยเฉพาะเด็กๆ วัยซนที่ออกจะตื่นเต้นเป็นพิเศษเมื่อได้เห็นอาซิโม ในงานถนนเทคโนโลยี เมื่อเร็วๆ นี้
          อาซิโมมีความสามารถหลายอย่าง เริ่มจากการเดิน อาซิโมเดินได้ด้วยเทคโนโลยี i-WALK ที่คอยควบคุมการทรงตัวให้สามารถก้าวเดินได้อย่างมั่นคงต่อเนื่อง แม้ในขณะเปลี่ยนทิศทาง โดยไม่ต้องหยุดชะงัก ทุกส่วนในร่างกายของอาซิโมจะเคลื่อนไหวสัมพันธ์กันในขณะเคลื่อนที่ อาซิโมจึงไม่เสียหลักหรือหกล้ม อาซิโมก้าวเดินขึ้นและลงบันไดได้เช่นเดียวกับมนุษย์ ในลักษณะของเท้าขวาก้าวนำและเท้าซ้ายก้าวตามเป็นจังหวะ ข้อต่อบริเวณหัวเข่าทั้ง 2 ข้างจะย่อลงทำให้อาซิโมสามารถรักษาสมดุลของร่างกาย ในขณะเดินขึ้นลงบันไดได้
          นอกจากจะก้าวเดินได้อย่างมั่นคงแล้ว อาซิโมยังมีความสามารถในการหลบหลีกเมื่อมีคนเข้าใกล้ โดยกำหนดตำแหน่งผู้ที่เข้าใกล้ผ่านกล้องรับภาพที่ตา ทำให้สามารถคำนวณทิศทาง ความเร็ว ระยะทาง คาดการณ์ความเคลื่อนไหว ของผู้ที่กำลังเข้าใกล้ และเลือกเส้นทางเดินที่เหมาะสม อีกทั้งยังเดินถอยหลังเพื่อเปิดทางให้ผู้อื่นได้ด้วย
          ตามร่างกายของอาซิโมมีข้อต่ออยู่ถึง 34 ตัว จึงทำให้อาซิโมเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเป็นธรรมชาติ สามารถโน้มตัว หมุนตัว หมุนเท้า กางแขน รวมไปถึงการเต้นเข้าจังหวะเพลง หรือเคลื่อนตัวไปทางด้านข้างในลักษณะการเต้นแบบฮาวายได้ และยังสามารถยกมือขึ้นไหว้และโบกมือทักทายได้เช่นเดียวกับมนุษย์
          เมื่อต้องการวิ่ง เท้าด้านขวาของอาซิโมจะก้าวไปด้านหน้าและตามด้วยเท้าซ้ายในลักษณะที่สมดุลต่อร่างกาย ทำให้สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระหว่างที่วิ่งนั้นจะมีจังหวะหนึ่งที่เท้า 2 ข้างจะลอยเหนือพื้นเป็นเวลา 0.08 วินาที และเมื่อเท้าสัมผัสพื้น อาซิโมก็ยังสามารถทรงตัวได้ดี เพราะวิศวกรได้ออกแบบให้อาซิโมมีการกระโดดที่แม่นยำสามารถรับการกระแทกขณะถึงพื้นได้ดี ป้องกันการลื่นไถล และทรงตัวขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
          นอกจากเดิน วิ่ง เต้นได้เช่นเดียวกับมนุษย์แล้ว อาซิโมยังถูกออกแบบให้ทำงานในชีวิตประจำวันได้ด้วย ไม่น่าเชื่อเลยว่าอาซิโมจะสามารถปิดสวิตช์ไฟ เปิดประตู และเสิร์ฟน้ำได้โดยไม่หกเลย เมื่อได้ยินเสียงเรียกชื่อ อาซิโมก็ยังหันไปตามเสียงเดินไปหาคนที่เรียกอาซิโม และหยุดเมื่อได้รับคำสั่ง นับเป็นหุ่นยนต์ที่ชาญฉลาดล้ำยุคจริง
          ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะความมุ่งมั่นตั้งใจค้นคว้า และทดลองอย่างต่อเนื่องของทีมวิศวกร ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เราบอกกับตัวเองได้อย่างหนึ่งว่า “ไม่มีสิ่งใดที่เกินความพยายามของมนุษย์” อย่างเราไปได้ เชื่อว่าในวันข้างหน้าอาซิโมจะถูกพัฒนาความสามารถ และทำหลายๆ อย่างให้เราได้ทึ่งกันอีกอย่างแน่นอน

เปิดเทคโนโลยี "หุ่นยนต์" ล้ำยุค "อินเตอร์เนชั่นแนล โรบอต 2009"

ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กรุงโตเกียว เมืองหลวงประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมการแสดงหุ่นยนต์นานาชาติครั้งใหญ่ประจำปี ค.ศ.2009 หรือพ.ศ.2552 นั่นคือ งาน "อินเตอร์เนชั่นแนล โรบอต เอ็กซิบิชั่น 2009" มีบริษัทเทคโนโลยีหุ่นยนต์แดนปลาดิบส่งนวัตกรรมใหม่เผยโฉมและประสิทธิภาพให้ชาวโลกยลกันเต็มอิ่ม ไล่ไปตั้งแต่หุ่นยนต์กลุ่มคล้ายมนุษย์ สัตว์เลี้ยง ฯลฯ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตหุ่นยนต์เหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในฐานะผู้ช่วยและเพื่อนของมนุษย์ตำแหน่งดาวเด่นของงาน ได้แก่ หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ หรือ ฮิวมานอยด์โรบอต รุ่น "โทปิโอ" (Topio) ยืนด้วยขาสองข้างอย่างมั่นคง และได้รับการตั้งโปรแกรมให้เล่น "ปิงปอง" แข่งกับมนุษย์ได้

สิ่งประดิษฐ์มีชีวิตจากฮาร์ดิสก์เก่า

สิ่งประดิษฐ์มีชีวิตจากฮาร์ดิสก์เก่า



เผยนวัตกรรมใหม่แผ่นฮาร์ดิสก์เก่าสร้างของเล่นมีชีวิตได้กว่า 20 ชนิด  เน้นเป็นสื่อเรียนรู้เพิ่มความเข้าใจวิชาวิทย์ฯเทคโนระหว่างผู้เรียนกับผู้ สอน  พร้อมสนับสนุนเยาวชนฝึกคิดประดิษฐ์ของเล่นใช้เอง


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมคณะวิจัยนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเรียนรู้ สังกัดกระทรวงกลาโหม เล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ จึงได้ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา มีความรู้ควบคู่จินตนาการ และสร้างเสริมการเรียนรู้ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้เข้าใจกันยิ่งขึ้น โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็นวิชาที่เข้าใจยากให้ง่ายขึ้น ผ่านแผ่นฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ใช้แล้วหรือเสีย นำมาประดิษฐ์เป็นของเล่นสำหรับเด็ก  ถ้าพิจารณาชิ้นส่วนหลักในฮาร์ดิสก์ แต่ละตัวจะประกอบด้วย 4-5 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกคือ แผนวงจรอิเล็กทรอนิกส์  แผ่นฮาร์ดดิสก์ มอเตอร์สำหรับหมุนแผ่นฮาร์ดดิส  หัวอ่านหรือแขนอ่าน และ แม่เหล็กถาวรความร้อนสูง


ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า จากส่วนประกอบทั้งหมดนำสองส่วนสุดท้ายคือหัวอ่านหรือแขนอ่านและแม่เหล็กถาวร ความร้อนสูงนำมาเช่ือมต่อแบบอนุกรมกันเพื่อให้ขดลวดที่อยู่ในหัวอ่านทำปฎิ กิริยาให้เกิดสนามแม่เหล็ก ส่งแรงไปดึงพลังงานหรือผลักดันร่วมกับสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวรทำให้ชิ้น ส่วนดังกล่าว เคลื่อนที่ไปมาได้ตามความแรงของกระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้าไปยังขดลวด  จึงสามารถนำไปเป็นกลไกที่บังคับด้วยไฟฟ้ากับงานต่าง ๆ ได้หลายชนิดช่วยให้ของเล่นธรรมดากลายเป็นของเล่นที่มีชีวิต สามารถขยับไปมาได้


ผู้สื่อข่าวรายงานอีกด้วยว่า นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของเล่นดังกล่าวช่วยส่งเสริมให้การเรียนระหว่างผู้ เรียนกับผู้สอนเข้าใจง่ายขึ้น โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และคณิตศาสตร์  ที่ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก ขึ้น  ฝึกคิดฝึกปฎิบัติ ทดลองประดิษฐ์คิดค้นของเล่นต่างๆ จากฮาร์ดดิสก์ที่เสียหรือชำรุดมาสร้างประโยชน์ใหม่ที่มีคุณค่า  มากกว่าการนำทิ้งขว้างหรือไปขายเป็นเศษเหล็กที่มีค่าเพียง 50 - 80 บาท จากท่ีราคาตัวละ 2- 3 พันบาท ซึ่งถ้านำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ไม่เผาหรือหลอมละลาย จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ แม้ว่าจะเล็กน้อยแต่ถ้าใช้งานกันเป็นวงกว้างจะก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น กับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้ อุปกรณ์สำคัญในฮาร์ดดิสก์ที่ถอดแล้ว ประกอบด้วยขดลวดที่ติดอยู่กับแขนอ่านและแม่เหล็กถาวรคุณภาพสูง  สามารถนำไปประดิษฐ์เป็นของเล่น เครื่องมือ  เครื่องใช้ได้มากกว่า  20  ชนิด สร้างให้นักประดิษฐ์รุ่นเยาวชนได้เกิดจินตนาการ ความร่วมมือของหมู่คณะ  หรือ เกิดเป็นเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับใช้ทดลองในห้องเรียนสำหรับรุ่นต่อ ๆ ไป

นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ แว่นวีดิโอ-วิทยุฉุกเฉิน-ตู้ไฮเทค


แว่นวีดิโอ

คริสเตียน แม็คโดนัลด์ กรอฟฟ์ สาธิต การใช้งานแว่นกัน หิมะ  ผลิตโดยลิควิดอิมเมจ โดยแว่น ดังกล่าวเป็นทั้งกล้องถ่ายวีดิโอและกล้องถ่ายภาพนิ่งคุณภาพ สูง คาดวางจำหน่ายปลายเดือนนี้ ราคา ประมาณ 400 เหรียญ สหรัฐฯ (ราว 12,000 บาท).



หวังพึ่งสเต็มเซลล์

ภาพจากแฟ้มของบริษัทแอดวานซ์ เซลล์ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพในอเมริกา ล่าสุดมีข่าวจากทางรัฐบาลว่าจะให้เริ่มทดลองขั้นที่สองในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนของมนุษย์ รักษาอาการตาบอดในผู้สูงวัย การทดลองจะตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยในการบำบัดให้แก่ผู้ที่มีปัญหาอาการเสื่อมที่มีจุดในดวงตา ทำให้คนอายุกว่า 60 ปี ที่ประสบปัญหานี้ส่วนใหญ่ตาบอด ปัจจุบันยังเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ อเมริกันชนราว 10-15 ล้านคน และยุโรปอีก 10 ล้านคน ประสบปัญหานี้.



วิทยุฉุกเฉิน

บริษัทอีตั้นซึ่งเป็นโคแบรนด์ของโรเวอร์ เผยโฉมวิทยุฉุกเฉินใช้มือหมุน ใช้เป็นไฟฉายก็ได้ และเป็นที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือได้ด้วย ที่งานอินเตอร์เนชั่นแนลคอนซูมเมอร์อิเล็กทรอนิกส์โชว์ เมืองลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา.



ตู้ไฮเทค

ตู้เสื้อผ้าตามแนวคิดใหม่ของแอลจี มีชื่อว่า "เดอะ แอลจี สไตเลอร์" ใช้ไอน้ำในการขจัดรอยยับย่น ขจัดกลิ่นอับ ฆ่าเชื้อ และยังเป็นตู้อบผ้าอย่างอ่อนๆด้วย คาดว่าจะมีจำหน่ายในเกาหลีใต้ในเดือนหน้า สนนราคาไม่ถึง 2,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 60,000 บาท) และวางแผนเข้าตลาดสหรัฐอเมริกาในปีหน้า

15 สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ในรอบ 50 ปี

1. พลังงานนิวเคลียร์ จุดกำเนิด : อังกฤษ พ.ศ.2499 นับแต่มีการค้นพบปฏิกิริยา นิวเคลียร์ฟิชชั่น ในยุคคริสต์ศตวรรษ 1930 นักวิทยาศาสตร์ตระหนักถึงความเป็นไปได้ในการผลิต พลังงานนิวเคลียร์และสามารถประดิษฐ์คิดค้นได้สำเร็จ ในปีค.ศ.1956 หรือ พ.ศ.2499 โรงงานพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรกของโลกก็เดินเครื่องท ี่เมืองคาลเดอร์ ฮอลล์ ประเทศอังกฤษ แต่เหตุการณ์โรงงานนิวเคลียร์ "เชอร์โนบิล" ของโซเวียตระเบิด ทำให้โลกถกเถียงกันอย่างหนักถึงผลดี-ผลเสียของการใช้พลังงานชนิดนี้ และปัจจุบันมีการใช้กันมาก

2. ดาวเทียม เกิดขึ้นครั้งแรก : สหภาพโซเวียต
พ.ศ.2500 ทันทีที่ดาวเทียม "สปุตนิก" ของโซเวียตถูกส่งออกไปนอกโลกเมื่อปี 2500 การแข่งขันด้านอวกาศระหว่าง 2 ชาติยักษ์ใหญ่ สหรัฐอเมริกากับโซเวียต ก็เปิดฉากเป็นทางการและบีบบังคับให้สหรัฐต้องส่ง "นีล อาร์มสตรอง" ไปเหยียบดวงจันทร์ในอีกประมาณ 10 กว่าปีต่อมา ดาวเทียมมีประโยชน์มากมาย ทั้งการสื่อสารไร้พรมแดน การสำรวจทรัพยากรโลกและอื่นๆอีกมากมาย

3. เลเซอร์ ผู้ประดิษฐ์ : ธีโอดอร์ ไมแมน พ.ศ.2503
เลเซอร์ ถือกำเนิดมาจากทฤษฎีทางฟิสิกส์ของ "อัลเบิร์ต ไอนสไตน์" อธิบายหลักการปล่อยโฟตอนโดยการกระตุ้นอะตอม เพราะในการเกิดการปล่อยโฟตอนดังกล่าวจะทำให้เกิดความ เข้มแสงเพิ่ม ซึ่งเป็นหลักการของเลเซอร์โดยทั่วไป เทคโนโลยีเลเซอร์หลุดจากโลกนิยายกลายเป็นความจริง เมื่อ "ธีโอดอร์ ไมแมน" นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการวิจัยของบริษัทฮิว ส์ สหรัฐอเมริกา ลงมือสร้างเลเซอร์เครื่องแรกของโลกสำเร็จ มีความยาวคลื่น 694.3 nm ทุกวันนี้เลเซอร์นำไปใช้กับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การทหาร การแพทย์ หรือแม้แต่ความบันเทิง เช่น การผลิตและการอ่านแผ่นซีดีเพลง เป็นต้น

4. เอทีเอ็ม จุดเริ่มต้น : ธนาคารบาเคลยส์ พ.ศ.2510
ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าใครเป็นคนประดิษฐ์เครื่องทำธุร กรรมการเงินอัตโนมัติ หรือ
เอทีเอ็ม เครื่องแรก แต่มีการขอจดสิทธิบัตรสร้างตู้เอทีเอ็มราวๆ 70 ปีก่อนโดยนักประดิษฐ์อเมริกัน ตู้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลกเปิดให้บริการโดยธนาคารบ าเคลย์ส (Barclays) กรุงลอนดอน อังกฤษ ในปี 2510 ถือเป็นก้าวแรกของการทำธุรกรรมการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำไปสู่การคิดค้นเทคโนโลยีรหัสรักษาความปลอดภัย (PIN) รวมทั้งการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต

5. แผ่นซีดี ผู้ประดิษฐ์ : คลาสส์ คอมพานน์ พ.ศ.2512
ปี 2512 คลาสส์ คอมพานน์ นักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์ ลูกจ้างบริษัทฟิลิปส์เสนอแนวคิดสร้างแผ่นออพติคัลดิส ก์ หรือแผ่นซีดี เพื่อนำมาใช้เก็บข้อมูลเสียงเพลงอย่างคงทนถาวรในรูปแ บบไฟล์ดิจิตอลแทนที่การบันทึกลงแผ่นไวนิล ผู้ผลิตแผ่นซีดีผลิตออกสู่ท้องตลาดจริงๆ ในปี 2525 คือฟิลิปส์กับโซนี่จับมือกันพัฒนาซีดีขึ้นมา จนปัจจุบันได้กลายเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีคนนิยมใ ช้มากที่สุดในโลก

6. บาร์โค้ดผู้ประดิษฐ์ : นอร์แมน โจเฟซ วู้ดแลนด์ พ.ศ.2515
นอร์แมน โจเฟซ วู้ดแลนด์ เริ่มคิดค้นบาร์โค้ดมาตั้งแต่สมัยศึกษาอยู่ที่มหาวิท ยาลัยฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา เมื่อมาทำงานที่บริษัท ไอบีเอ็ม จึงเริ่มคิดค้นอย่างจริงจัง วัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบ จำแนกสินค้าอัตโนมัติ และในปี 2515 ก็สามารถนำเอาความก้าวหน้าด้านคอมพิวเตอร์กับแสงเลเซ อร์มาพัฒนาบาร์โค้ดจนสำเร็จ

7. โทรศัพท์มือถือ ผู้ประดิษฐ์ : มาร์ติน
คูเปอร์ พ.ศ.2516 พื้นฐานการสร้างเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไร้สาย หรือ มือถือ มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ 1940 (พ.ศ.2483) แต่ต้องใช้เวลาต่อมาอีกหลายสิบปี มาร์ติน คูเปอร์ ถึงจะสามารถประดิษฐ์มือถือเครื่องแรกของโลกให้กับบริ ษัทโมโตโรลา การใช้งานมือถือขยายตัวไปทั่วโลกเพราะความก้าวหน้าขอ งเทคโนโลยีจีเอสเอ็มที่ใช้กันแพร่หลายมากกว่า 80 ประเทศ ประกอบกับราคามือถือถูกลงเรื่อยๆ ขณะที่การใช้งานหลากหลายขึ้น ทั้งบริการเอสเอ็มเอส วิดีโอโฟน อี-เมล ถ่ายภาพดิจิตอล ฯลฯ

8. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) พ.ศ. 2520พลันที่ "ซิลิคอนชิป" ถือกำเนิดขึ้น "เทคโนโลยีสมองกล" ที่เรียกว่า "
คอมพิวเตอร์" ก็พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เมื่อ 40 ปีก่อน คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องมีขนาดพอๆ กับสำนักงาน 1 แห่ง และแล้วปี 2520 พีซีขนาดตั้งโต๊ะเครื่องแรก "แอปเปิล II" ก็เผยโฉมขึ้น ตามด้วยพีซีสมรรถภาพสูง "IBM 5150" ของไอบีเอ็มที่ออกวางตลาดปี 2524 จากนั้นอีก 2 ปีระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ของไมโครซอฟท์จะช่วยให้พีซีระบาดไปทั่วโลกเพราะใช้งา นง่ายและสะดวกสบาย

9. ยานวอยเอเจอร์ องค์การที่ประดิษฐ์ : นาซ่า พ.ศ. 2520
การประดิษฐ์ยานอวกาศเพื่อเก็บข้อมูลระยะไกลนั้น เป็นเวลากว่า 30 ปี ยานอวกาศ "วอยเอเจอร์ 1-2" ขององค์การอวกาศสหรัฐอเมริกา (นาซ่า) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากปลายสุดของระบบสุริยะจักรวาลส ่งตรงกลับมายังฐานนาซ่าบนโลกเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลของดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ยูเรนัส และเนปจูนสำเร็จ

10. เด็กหลอดแก้ว
ผู้ประดิษฐ์ : แพทริก สเต็ปโท-โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ พ.ศ.2521 แพทริก สเต็ปโท นักสรีรวิทยา และโรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ นรีแพทย์ ร่วมมือกันคิดค้นวิธีการผสมเทียมโดยนำอสุจิกับไข่ของ มนุษย์มาผสมเทียมในหลอดแก้วเพื่อให้ปฏิสนธิมนุษย์นอก ครรภ์มารดา การทดลองล้มเหลว 80 ครั้ง ในที่สุดปี 2521 วิธีผสมเทียมของทั้ง 2 คนก็ให้กำเนิดเด็กหลอดแก้วคนแรกของโลก หลังจากหนูน้อย "หลุยส์ บราวน์" ร้องอุแว้ในห้องคลอด ณ เมืองโอลด์แฮม ประเทศอังกฤษ

11. หัวใจเทียม ผู้ประดิษฐ์ : โรเบิร์ต ยาร์วิก พ.ศ.2525
มนุษย์เกิดมาต้องตายและต้องตายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงถ้า "หัวใจ" หยุดเต้น แต่นักประดิษฐ์เครื่องมือผ่าตัด "โรเบิร์ต ยาร์วิก" ไม่ยอมรับกฎธรรมชาติข้อนี้ และสร้าง "หัวใจเทียม" ให้คณะแพทย์มหาวิทยาลัยยูทาธ์ สหรัฐอเมริกา นำไปผ่าตัดให้กับ "นายบาร์นีย์ คลาร์ก" ซึ่งมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก 112 วันหลังผ่านการผ่าตัด ทุกวันนี้หัวใจเทียมช่วยยืดชีวิตคนไข้ที่รอการเปลี่ย นหัวใจจำนวนนับไม่ถ้วน

12. นาโนเทคโนโลยี ผู้ประดิษฐ์ : เอริก
เดร็กซ์เลอร์ พ.ศ.2529 เอริก เดร็กซ์เลอร์ นักวิทยาศาสตร์อเมริกันบัญญัติคำว่า "นาโนเทคโนโลยี" ครั้งแรกปี 2529 เพื่ออธิบายวิสัยทัศน์ของ "ศ.ริชาร์ด ฟายน์แมน" เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ซึ่งวาดภาพการใช้วิธีจัดเรียง "อะตอม" ของสิ่งต่างๆ เพื่อนำมาสร้างสิ่งประดิษฐ์ขนาดจิ๋ว ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องยนต์ ฯลฯ ปัจจุบันนาโนเทคฯ ค่อยๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมนุษย์แล้วในรูปแบบผลิต ภัณฑ์ต่างๆมากมาย

13. เทคโนโลยี WWW
ผู้ประดิษฐ์ : ทิม เบอร์เนอร์ส ลี พ.ศ.2534 โครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเริ่มเป็นรูปเป็ นร่างตั้งแต่ 30 ปีก่อน แต่บุคคลที่ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นเทคโนโลยีประจำ บ้านสำหรับประชากรโลก คือ ทิม เบอร์เนอร์ส ลี โปรแกรมเมอร์อังกฤษ ผู้คิดโปรแกรมสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (World Wide Web : WWW) ขึ้นมาจนสามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เชื่อมคอมพิวเตอร ์ทั่วโลกเข้าด้วยกันได้ในปี 2534

14. แกะโคลนนิ่งดอลลี่ ผู้คิดค้น : เอียน วิลมุต พ.ศ.2540 ปี
2540 เอียน วิลมุต นักวิจัยสถาบันโรสลิน เอดินบะระ สกอตแลนด์ สร้างแกะโคลนนิ่ง ตัวแรกของโลกพร้อมกับตั้งชื่อให้มันว่า "ดอลลี่"
"
ดอลลี่" เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวแรกของโลกที่สร้างโดยกระ บวนการคัดลอกแบบทางพันธุกรรม (โคลนนิ่ง) ด้วยการสกัดเอานิวเคลียส ในไข่ของแกะเพศเมียออก และสอดเอาเซลล์ร่างกาย ของแกะที่ต้องการสร้างเข้าไปแทนที่ จุดประกายความหวังในการสร้าง "มนุษย์โคลนนิ่ง" ท่ามกลางเสียงทักท้วงในโลกตะวันตกว่าหน้าที่สร้างสิ่ งมีชีวิตเป็นของพระเจ้า ไม่ใช่มนุษย์

15. โครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ พ.ศ. 2546โครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์
เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์หลายร้อยคนในสห รัฐ อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งใจถอดรหัสการจัดเรียงตัวของ "ดีเอ็นเอ" หรือ หน่วยพันธุกรรม 3 พันล้านตัวอักษร กระทั่งประสบความสำเร็จในเดือนเม.ย. 2546 ช่วยให้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์เข้าใจการทำงานของร่าง กายคนเราอย่างลึกซึ้งที่สุดในประวัติศาสตร์

Barebone นวัตกรรมใหม่ เอาใจผู้ใช้ PC ขนาดเล็ก

BAREBONE นวัตกรรมใหม่ เอาใจผู้ใช้ PC ขนาดเล็กคุณเคยเบื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่คุณใช้ทำงานอยู่ทุกวันไหม เวลาอยากจะขนย้าย หรือนำไปใช้งานนอกสถานที่ก็เป็นเรื่องที่ ลำบากใจลำบากกายกัน อยู่ไม่น้อย หรือว่าจะซื้อโน้ตบุกมาใช้ดี ลองเอามือล้วงกระเป๋าตังค์ออกมาดูแล้วก็คิดว่าคงไม่คุ้มกันแน่ๆ เพราะ ราคาโน้ตบุกหนึ่งเครื่องแพงกว่าเงินเดือนเดือนนี้ซะอีก ไม่เป็นไรครับ ในครั้งนี้เรามีทางออกดีๆ กับประสิทธิภาพเจ๋ง....

Enhanced Stacking นวัตกรรมใหม่ของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ

Enhanced Stacking
นวัตกรรมใหม่ของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ



Enhanced Stacking Technology

Enhanced Stacking เป็นเทคโนโลยีใหม่ของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Switch ที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับท่านได้อย่างมากมายในการดูแลและจัดการกับอุปกรณ์เครือข่ายของท่าน ด้วยเทคโนโลยี Enhanced Stacking จะทำให้ท่านจะสามารถดูแลและจัดการกับอุปกรณ์ Switch หลายๆ ตัวของท่านอย่างง่ายดาย รวมทั้งสามารถติดตั้งอุปกรณ์ Switch ไว้ในที่ที่ต่างๆ กัน และสามารถทำการดูแลจัดการได้โดยใช้ IP Address เพียงหมายเลขเดียวเท่านั้น



เทคโนโลยี Enhanced Stacking นั้นจะต่างจากการ Stacking แบบธรรมดาทั่วไป หรือที่เราเรียกว่า Traditional Stack โดยที่ Enhanced Stacking จะมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่า ท่านสามารถดูแลจัดการอุปกรณ์ Switch ได้พร้อมกันหลายๆ ตัว ด้วย IP Address เพียงหมายเลขเดียว โดยที่ท่านไม่จำเป็นที่จะต้องทำการติดตั้งอุปกรณ์ Switch เหล่านั้น ไว้ในสถานที่ที่อยู่ใกล้ๆ กัน อย่างเช่นติดตั้งอยู่ภายในตู้ Rack เดียวกันเหมือนการ Stack แบบธรรมดาทั่วไป แต่ด้วยเทคโนโลยี Enhanced Stacking ท่านสามารถที่จะติดตั้งอุปกรณ์ Switch เหล่านั้นไว้ต่างห้อง, ต่างชั้น หรือแม้กระทั่งต่างอาคารกันก็ตาม โดยที่ท่านยังสามารถดูแลจัดการอุปกรณ์ Switch เหล่านั้นได้พร้อมกันเหมือนกับการ Stack แบบธรรมดา


Traditional Stacking

เราสามารถนำเทคโนโลยี Enhanced Stacking มาใช้งานได้อย่างง่าย เพียงแค่เชื่อมต่ออุปกรณ์ Switch ที่เราต้องการจะทำ Enhanced Stacking เข้าด้วยกันทางพอร์ต Fast Ethernet 10/100Base-TX หรือจะเป็นพอร์ต Fiber Optic ก็ได้ในกรณีที่ต้องการระยะที่ไกลมากขึ้น นอกจากนั้นเรายังสามารถนำเทคโนโลยี Enhanced Stacking มาใช้ดูแลจัดการอุปกรณ์ Switch ที่ไม่ได้มีการเชื่อมต่อกันโดยตรงก็ได้ แต่มีข้อแม้อยู่ว่าอุปกรณ์ Switch ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกันโดยตรงเหล่านั้น จำเป็นที่จะต้องอยู่ในระบบเครือข่ายเสมือน หรือ VLAN (Virtual LAN) เดียวกัน


Enhanced Stacking Connection (Fast Ethernet & Fiber)

เทคโนโลยี Enhanced Stacking ในปัจจุบันนั้น สามารถรองรับการเชื่อมต่อระหว่างกันของอุปกรณ์ Switch ได้สูงสุดถึง 24 ตัว โดยที่เราสามารถจะทำการดูแลและจัดการกับอุปกรณ์ Switch ทั้ง 24 ตัวนั้นได้โดยใช้ IP Address เพียงหมายเลขเดียวเท่านั้นเอง


ข้อดีของเทคโนโลยี Enhanced Stacking

  • ทำให้เราสามารถที่จะกำหนดขอบเขตของการดูแลและจัดการกับอุปกรณ์ Switch ที่อยู่ต่างพื้นที่กัน หรืออยู่ห่างกัน เช่น อยู่ต่างชั้น ต่างอาคารกันได้ในเวลาเดียวกัน
  • ทำให้เราสามารถดูแลและจัดการอุปกรณ์ Switch หลายๆ ตัวได้ โดยใช้ IP Address เพียงหมายเลขเดียว ซึ่งจะทำให้เป็นการประหยัด IP Address ที่จะใช้ในการดูแลและจัดการระบบเครือข่าย

ตัวอย่างที่ 1



ตัวอย่างที่ 2


ข้อแตกต่างระหว่าง Enhanced Stacking กับ Traditional Staking

  • อุปกรณ์ Switch ที่รองรับเทคโนโลยี Enhanced Stacking นั้นสามารถที่จะติดตั้งไว้ในสถานที่ที่ต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นต่างห้องกัน ต่างชั้นกัน หรือแม้กระทั่งต่างอาคารกัน โดยที่เรายังสามารถทำการดูแลจัดการอุปกรณ์ Switch เหล่านั้นได้จากที่ใดที่หนึ่งในเวลาเดียวกัน ในขณะที่ Traditional Stack จะถูกจำกัดด้วยขนาดความยาวของ Stacking Cable ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขนาดความยาวเพียงไม่กี่นิ้วเท่านั้น ทำให้เราจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ Switch ที่ต้องการจะทำ Traditional Stack ไว้ที่เดียวกัน อย่างเช่น ไว้ในตู้ Rack เดียวกัน เป็นต้น
  • อุปกรณ์ Switch ที่ใช้งานเทคโนโลยี Enhanced Stacking นั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ Stacking Module หรือ Stacking Cable เหมือนกับการทำ Traditional Stacking ทำให้เราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้ค่อนข้างมากทีเดียว
  • การทำ Traditional Stacking ของอุปกรณ์ Switch ในปัจจุบันนั้น จะจำกัดอยู่ที่อุปกรณ์ประมาณ 4 – 8 ตัวในหนึ่งกลุ่มเท่านั้น ในขณะที่เทคโนโลยี Enhanced Stacking สามารถดูแลจัดการอุปกรณ์ Switch ได้พร้อมกันมากสุดถึง 24 ตัวในกลุ่มเดียวกัน ทำให้ Enhanced Stacking มีความยืดหยุ่นในการใช้งานค่อนข้างสูง
  • เทคโนโลยี Enhanced Stacking มีความสามารถในทำการกำหนดอุปกรณ์ Switch ตัวใดตัวหนึ่งสำหรับทำหน้าที่สำรองอุปกรณ์ Switch หลัก (Redundant Master Switches) ในกรณีที่ Switch ตัวหลัก หรือ Main Switch เกิดเสียหรือมีปัญหา เราก็ยังสามารถดูแลและจัดการอุปกรณ์ Switch ในกลุ่มเดียวกันที่เหลืออยู่นั้นโดยใช้เทคโนโลยี Enhanced Stacking ได้อย่างไม่มีปัญหา ซึ่งจะต่างจาก Traditional Stacking ที่จะมีอุปกรณ์ Main Switch เพียงตัวเดียว และไม่มีความสามารถในการสำรองอุปกรณ์ Switch ตัวอื่นมาทำงานเป็น Main Switch แทน นั่นทำให้เมื่อใดก็ตามที่ Main Switch เกิดเสียขึ้นมา เราจะไม่สามารถทำการดูแลจัดการกับอุปกรณ์ Switch ที่เหลือในกลุ่มของ Traditional Stack เดียวกันได้เลย

Redundant Link

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี Enhanced Stacking นั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่น และช่วยให้เราสามารถดูแลและจัดการกับอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายของเราได้อย่างสะดวกและมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีระบบสำรอง หรือ Redundant ในกรณีที่อุปกรณ์ Switch ตัวหลักเกิดเสียหรือมีปัญหาขึ้นมาอีกด้วย ทำให้เราสามารถดูแลจัดการ รวมถึงการใช้งานระบบเครือข่ายของเราได้อย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยี Enhanced Stacking

ในปัจจุบันนั้นมีอุปกรณ์ Switch จากผู้ผลิตเพียงไม่กี่ยี่ห้อเท่านั้น ที่สามารถรองรับเทคโนโลยี Enhanced Stacking ดังนั้นหากท่านเห็นว่าเทคโนโลยี Enhanced Stacking นั้นน่าจะเป็นประโยชน์ และมีความต้องการที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้งานกับระบบเครือข่ายของท่านแล้ว อยากให้ท่านตรวจสอบให้ดีก่อนว่าอุปกรณ์ Switch ยี่ห้อที่ท่านกำลังมองอยู่นั้นสามารถรองรับกับเทคโนโลยี Enhanced Stacking นี้ได้หรือไม่ด้วยนะครับ

Memory Card นวัตกรรมใหม่ ที่ไม่ใหม่

ทุกวันนี้เทคโนโลยีมือถือในบ้านเราเตรียมตัวเข้าสู่ระบบ 3G ซึ่งภายในมือถือ สิ่งที่ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าระบบการสื่อสารของโทรศัพท์มือถือเอง นั่นคือ Memory Card เพราะทุกวันนี้ Memory Card ของโทรศัพท์มือถือพัฒนาไปไกลมาก และมีการพัฒนา
มานานพอสมควร ถ้าจะให้เริ่มลำดับชนิดของ Memory Card นั้น คงจะอ่านกันเหนื่อยน่าดู จะขอบอกประเภทที่คนนิยมใช้มากที่สุดคือ SD Card ,Micro SD Card ,MMC Card ,Mini MMC Card หลายคนคงเคยได้ยิน หรือผู้ที่เล่นมือถือจะรู้จักดี ซึ่ง Memory Card ทั้งสองรุ่นนี้เป็นรุ่นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะใช้กับโทรศัพท์มือถือ หรือใช้เก็บข้อมูลแทน Flash Drive และกล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล และในปัจจุบันได้มี Memory Card กำเนิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งการรับ– ส่ง ข้อมูลเร็วกว่า และที่สำคัญสามารถใช้กับโทรศัพท์มือถือได้ด้วย นั่นคือ DV-RSMMC

DV-RSMMC ย่อมาจาก DV = Dual Voltage / RS = Reduced Size / MMC = Multimedia Card เป็นการ์ดมัลติมีเดียที่ถูกลดขนาดลง เพื่อให้ใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือเฉพาะรุ่น (Nokia 6630, 6670) มีขนาดเท่ากับ RS MMC (24x18x1.4 mm) และยังสามารถใช้งานแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 2 ระดับ คือ รองรับทั้ง 3V และ 1.8V ช่วยให้มือถือใช้พลังงานลดลง อีกทั้งสามารถนำไปใช้งานร่วมกับโทรศัพท์มือถือที่รองรับ RS MMC ได้ แต่ไม่สามารถนำ RS MMC ไปใช้งานร่วมกับโทรศัพท์ที่รองรับ DV RS MMC ได้ เพราะอาจจะทำให้การ์ดและเครื่องโทรศัพท์เสียได้ เนื่องจากการจ่ายไฟไม่พอกับความต้องการของ memory card
คุณสมบัติ
มีระบบป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ทั้งเวลาถอดเข้า และถอดออกสามารถลบข้อมูลได้กว่า 1,000,000 ครั้ง กันกระแทกได้ถึง 2000 Gs และทนการตกกระแทกพื้น ได้ถึง 10 ฟุต อัตราการกู้ข้อมูลผิดพลาด 99.99 % ใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือ และใช้ได้กับเครื่องเล่นเพลงดิจิตอล, กล้องบันทึกแบบดิจิตอล และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีช่องสำหรับใส่ MMC

นวัตกรรมใหม่การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์

คุณสมบัติที่โดดเด่นของคอมพิวเตอร์ช่วยการผ่าตัดข้อเข่าเทียม (CAS)
  1. ยืดอายุการใช้งานยาวนานที่สุด
  2. มีประสิทธิภาพและได้ผลดีที่สุด
photo: Image-guided orthopedic surgion at Bone and Joint Center of Excellence Bangkokการผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
          การผ่าตัดข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty) คือ การผ่าตัดที่ใช้ในการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรง โดยการนำผิวข้อเข่าที่เสื่อมออกไป และทดแทนด้วยผิวข้อเข่าเทียม ได้รับความนิยม และเป็นที่ยอมรับอย่างมาก เนื่องจากการรักษาได้ผลดีเยี่ยม และจัดว่าเป็นการผ่าตัดที่ได้ผลดีที่สุดอย่างหนึ่ง ในสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดผิวข้อเข่าเทียมถึงปีละ 2-3 แสนราย จึงมีความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพการผ่าตัดใหดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนึ่งที่มีความพยายามในการหาวิธีแก้ไข คือ ผิวข้อเข่าเทียมอาจมีการสึกหรอ การผ่าตัดผิวข้อเทียมจะมีอายุการใช้งานและต้องทำการผ่าตัดแก้ไขใหม่ ซึ่งทำได้ยาก และมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดสูง
ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำการผ่าตัดเฉพาะในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบัน ความคาดหวังของผู้ป่วยมีมากขึ้น ไม่เพียงแต่จะทำให้หายทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากภาวะข้อเข่าเสื่อมเดินได้ แต่ยังต้องการให้การผ่าตัดนั้นสามารถใช้งานได้ตลอดโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขอีก ในอดีต ความคาดหวังที่จะมีอายุการใช้งานได้เพียง 5-10 ปี แต่ปัจจุบันต้องการให้มีอายุการใช้งานได้ 15-20 ปี หรืออาจถึง 30 ปี และสามารถทำการผ่าตัดผิวข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงได้
สาเหตุสำคัญที่มีผลต่ออายุการใช้งานของผิวข้อเข่าเทียม มีหลายปัจจัย และที่สำคัญที่สุด คือการวางตำแหน่งผิวข้อเข่าเทียมได้อย่างถูกต้อง จัดความสมดุลของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณรอบข้อให้เหมาะสม ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด จากการศึกษาพบว่าแม้แพทย์ที่มีความชำนาญแล้ว ก็เกิดคลาดเคลื่อนในการวางตำแหน่งของผิวข้อเข่าได้ มีผลทำให้อายุการใช้งานน้อยลง โดยเฉพาะแพทย์ที่มีความชำนาญน้อย ความผิดพลาดและความคลาดเคลื่อนดังกล่าวก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากขึ้น ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยให้ข้อมูลแก่แพทย์ระหว่างทำการผ่าตัด มีความแม่นยำสูงสุด เพื่อให้มีอายุการใช้งานนานที่สุด
การผ่าตัดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์คืออะไร
          หลักการผ่าตัดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการผ่าตัด (Computer Assisted Surgery) หรือเรียกว่า CAS คือการนำระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างภาพ 3 มิติของบริเวณข้อเข่าที่จะผ่าตัด โดยการป้อนข้อมูลให้แก่คอมพิวเตอร์ในขณะทำการผ่าตัดให้ได้ภาพ Digital model ที่มีลักษณะเฉพาะเหมือนผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันได้ในผู้ป่วแต่ละรายโดยไม่ต้องพึ่งเอกซเรย์ หรือ CT scan ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องโดนรังสีเอกซเรย์โดยไม่จำเป็น ภาพที่ได้จะมีการเคลื่อนไหวไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวของข้อเข่าตามจริงตลอดเวลา โดยอาศัยเทคโนโลยีการส่งข้อมูลจากบริเวณข้อเข่าผู้ป่วยไปยังระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบอินฟราเรด
ระบบคอมพิวเตอร์จะมี software ช่วยประมวลข้อมูลที่ได้รับในการสร้างภาพตามจริงตลอดเวลา โดยมีความละเอียดถึง 0.1 มิลลิเมตร และ 0.1 องศา ดังนั้น แพทย์จะสามารถได้ข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อช่วยในการตัดสินใจระหว่างทำการผ่าตัด ตลอดจนสามารถตรวจสอบความถูกต้องและแม่นยำได้ทันทีในขณะทำการผ่าตัด หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น สามารถทำการแก้ไขได้ทันที ซึ่งต่างจากเทคนิคการผ่าตัดที่ใช้ทั่วไป ที่จะต้องรอประเมินโดยใช้เอกซเรย์หลังผ่าตัด หากพบว่ามีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น จะทำการแก้ไขได้ยากเพราะต้องผ่าตัดใหม่ เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ดังนั้นแม้จะพบว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น ก็มักจะต้องยอมรับกับสภาพดังกล่าว ทำให้มีผลทั้งอายุการใช้งานของผิวข้อเข่าเทียม และการใช้งานหลังการผ่าตัด
การวางตำแหน่งผิวข้อเข่าเทียม มีความสำคัญอย่างไร
          แพทย์ผู้ทำการผ่าตัด เปรียบเสมือนช่างก่อสร้างบ้าน หากต้องการให้ได้บ้านที่มีความมั่นคงแข็งแรง และสามารถใช้งานได้นาน ช่างจำเป็นจะต้องจัดวางตำแหน่งเสาที่รับน้ำหนักของบ้านได้อย่างถูกต้อง แต่หากช่างผู้ทำการก่องสร้างตั้งเสาบ้านเอียง อาจจะทรุดหรือล้มได้ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและความละเอียดของช่างผู้ทำการก่อสร้าง ตลอดจนต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการก่อสร้างที่เหมาะสม การผ่าตัดผิวข้อเข่าเทียมก็เช่นเดียวกัน แพทย์จะต้องมีการตัดเอาผิวข้อเข่าที่เสื่อมแล้วออก และแต่งผิวกระดูกดังกล่าวเพื่อเตรียมวางผิวข้อเทียม หากแพทย์สามารถวางตำแหน่งผิวข้อเทียมได้อย่างถูกต้อง (Proper rotational alignment of prosthetic component) ก็จะช่วยให้มีอายุได้นานที่สุด
มีการศึกษาพิสูจน์ชัดเจนว่าการวางตำแหน่งผิวข้อเข่าไม่ถูกต้อง (Malalignment) จะทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างการใช้งานข้อเข่า ทำให้เกิดอาการปวด ใช้งานได้ไม่ดี เกิดการสึกหรอของผิวข้อเข่าเทียมเร็วกว่าปกติ (accelerated wear) เกิดการหลวมของผิวข้อเข่าเทียม (Component loosening) มีผู้ศึกษาพบว่าความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งผิวข้อเข่าเทียมไปเพียง 3 องศา จะทำให้เพิ่มโอกาสการเกิดปัญหาการหลวมของข้อเทียมจาก 3 % ใน 8 ปี เพิ่มขึ้นเป็น 24% ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขใหม่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดผิวข้อเข่าเทียมทุกท่านจึงให้ความสำคัญมากในการวางตำแหน่งของผิวข้อเข่าเทียม
ในอดีตที่ผ่านมาจึงมีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยในการผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตามก็ยังพบปัญหาการวางตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม แพทย์ที่มีความชำนาญน้อยก็จะมีโอกาสเกิดปัญหาดังกล่าวได้มากกว่าแพทย์ที่มีความชำนาญสูง ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยในการผ่าตัดเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
การผ่าตัดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์นั้น ทำงานอย่างไร
          ในการผ่าตัดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ จะทำหน้าที่เสมือนระบบนำร่อง (Navigation system) ที่ใช้ในสายการบิน เพื่อช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการบิน หรือระบบดาวเทียม เพื่อช่วยบอกตำแหน่งได้อย่างถูกต้องแม่นยำตลอดเวลาแบบ real time ดังนั้นจึงต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีเทคโนโลยีความเร็วสูง เพื่อช่วยให้การประมวลข้อมูลอย่างรวดเร็ว มีระบบการส่งข้อมูลจากบริเวณที่ทำการผ่าตัดไปยังคอมพิวเตอร์ที่มีการป้อนข้อมูลข้อเข่าของผู้ป่วยให้กับคอมพิวเตอร์ในขณะทำผ่าตัด (registration) โดยอาศัย tracking technology ซึ่งประกอบด้วยตัวส่งข้อมูลที่ยึดติดกับข้อเข่าผู้ป่วย (sensing devices) และระบบรับข้อมูล ซึ่งจะรับข้อมูลที่ได้ส่งไปยังคอมพิวเตอร์ ระบบประมวลผลข้อมูลในคอมพิวเตอร์จะสร้างภาพดิจิตอล (Digital model) ข้อเข่าของผุ้ป่วย คอมพิวเตอร์จะมีข้อมูลของผิวข้อเข่าเทียมชนิดที่จะใช้ในการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลายชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีข้อมูล ขนาด และรูปร่างที่แตกต่างกัน (Dimension of prosthesis) และคอมพิวเตอร์จะให้ข้อมูลแก่แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดในการเตรียมผิวกระดูกของข้อเข่าที่ดีที่สุดสำหรับผิวข้อเทียมชนิดนั้น ๆ รวมทั้งเลือกขนาดของผิวข้อเข่าเทียมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วย เมื่อแพทยืได้ข้อมูลดังกล่าวก็จะช่วยให้สามารถแต่งผิวกระดูกที่จะรองรับผิวข้อเทียมได้อย่างถูกต้อง และยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ หากยังมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขได้ทันที ปัจจุบันยังมีการพัฒนา software เพื่อช่วยในการประเมินความสมดุลของกล้ามเนื้อและความตึงของเส้นเอ็นบริเวณข้อเข้าเพื่อสามารถใช้งานได้ดีที่สุด
การผ่าตัดโดยอาศัยเทคนิค Minimal Invasive Surgery ร่วมกับเทคนิคการผ่าตัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (MIS & CAS)
          ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดชนิดใหม่ เพื่อให้บาดแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงที่เรียกว่า Minimal Invasive Surgery ซึ่งกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก สวยกว่า กลับไปใช้งานได้เร็วกว่า แต่ต่อมาพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นหลายประการ เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล้ก ทำให้แพทย์ไม่สามารถมองเห็นบริเวณที่ทำการผ่าตัดได้ชัดเจน จึงมีโอกาสเกิดความผิดพลาดในการวางตำแหน่งของผิวข้อเทียมง่าย ทำให้เกิดผิวข้อเทียมหลวมและสึกหรอเร็วกว่าที่ควร แม้แพทย์จะมีความชำนาญและประสบการณ์สูงแล้วก็ตาม ก็มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้สูง
          ดังนั้น ด้วยระบบการผ่าตัดโดยใช้คอมพิวเตอร์ (CAS) จึงได้ถุกนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการผ่าตัดด้วยเทคนิค Minimal Invasive Surgery เพื่อช่วยให้แพทย์มีข้อมูลในระหว่างทำการผ่าตัดมากขึ้น แม้จะมองเห็นไม่ชัดเจน แต่จะสามารถมองภาพจากจอคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถทำการผ่าตัดได้แม่นยำยิ่งขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น โดยลดปัญหาการวางตำแหน่งผิวข้อเข่าเทียมที่ไม่เหมาะสม จึงมีความเชื่อกันว่าการผ่าตัดโดยเทคนิค Minimal Invasive ร่วมกับ Computer-assisted surgery จะเป็นการผ่าตัดสำหรับอนาคต

ความหมายของนวัตกรรม

ความหมายของนวัตกรรม
          นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
      “นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
          คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า นวกรรมต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็นนวัตกร” (Innovator)    (boonpan edt01.htm)
          ทอมัส ฮิวช (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
          มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรมว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
          ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
          จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
          ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
           ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
           ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

i ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
           นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
          นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

iความหมายของเทคโนโลยี

                ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์ประยุกตหรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า เทคโนโลย” (boonpan edt01.htm)
          เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
          เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
          สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
          ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)
          Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)
          นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
          1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
          ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ โสตทัศนศึกษานั่นเอง
          2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)

iเป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
          1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
              1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
              1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
              1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
              1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
         2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด แบบเรียนโปรแกรมซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
          3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
          4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

iแนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
          ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
          1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

              - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
              - เครื่องสอน (Teaching Machine)
              - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

          2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
              - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

           3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
              - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
              - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
              - การเรียนทางไปรษณีย์

          4. ระสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
              - มหาวิทยาลัยเปิด
              - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
              - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
              - ชุดการเรียน

iนวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)
           นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน
          ในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา
iนวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
·       E-learning
     ความหมาย    e-Learning  เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึงการเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯเช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning ่าหมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง ารเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
           1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
            2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
          ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently Asked Question : FAQ) ในเวป www.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ ้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลค ทรอนิค ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ ์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เนต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี คศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเ ป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business
          เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Technology-based Learning nี่มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เนต อินทราเนต และ เอ็ซทราเนต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป Online Learning ปกติจะ ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks) แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่ ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น
          การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) 

ครั้งแรกในไทย ศิริราชปลูกถ่าย “ตับอ่อน” สำเร็จ

ครั้งแรกในไทย ศิริราชปลูกถ่าย “ตับอ่อน” สำเร็จ!



วันนี้ (23 ธ.ค.) เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เวลาประมาณ 10.15 น. ณ ห้องประชุม อาคารอำนวยการ ชั้น 2 โรงพยาบาลศิริราช ศ.คลินิกนพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมด้วย ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ อ.ดร.นพ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร หัวหน้าทีมศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ อ.นพ.สมชัย ลิ้มศรีเจริญ ทีมศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ และนายสมนึก พิสัยพันธ์ ผู้ป่วยผู้ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายเปลี่ยนตับอ่อนสำเร็จเป็นรายแรกของไทย ร่วมกันแถลงข่าวความสำเร็จในการปลูกถ่ายเปลี่ยนตับอ่อนในครั้งนี้
      
ศ.คลินิกนพ.ธีรวัฒน์ กล่าวว่า นับเป็นอีกก้าวที่ยิ่งใหญ่ของทีมแพทย์ไทย ที่การผ่าตัดเปลี่ยนตับอ่อนให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งโรคเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนเอง ที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยมากมักจะพบในเด็ก ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ ถือเป็นผู้ป่วยเบาหวานส่วนน้อยในประเทศไทย หากเทียบกับเบาหวานชนิดที่2 ที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน ที่มักพบในวัยสูงอายุและคนอ้วน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนพบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 ในประเทศไทยประมาณร้อยละ10 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีถึง 90% เลยทีเดียว


ด้านศ.นพ.ศุภกรกล่าวว่า ตับอ่อนอาจจะเป็นอวัยวะที่ไม่คุ้นหูนัก ตับอ่อนจะอยู่ด้านหลังกระเพาะอาหาร ลักษณะเป็นอวัยวะทรงรีขวางกลางลำตัว ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยและผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ตับอ่อนจะสร้างอินซูลินได้น้อยหรือไม่สร้างเลย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยไม่นิ่ง โดยจะสวิงต่ำเกินไปและสูงเกินไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างยิ่ง หากต่ำเกินไปอาจช็อคจนเสียชีวิตได้ หากสูงเกินไปจะส่งผลต่อไต ทำให้ไตวาย จอประสาทตาเสื่อม หลอดเลือดหัวใจตีบ
      
ในขณะที่ อ.นพ.สมชัย ระบุว่าเดิมการรักษาที่ทำโดยทั่วไปต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่1 คือการฉีดอินซูลินเพื่อปรับระดับน้ำตาลในเลือดวันละ 3-4 ครั้ง แต่ก็ไม่ได้ผลดีนัก และโดยมากแล้วผู้ป่วยโรคดังกล่าวจะมีภาวะไตวายร่วมด้วยเพราะควบคุมน้ำตาลได้ยาก
      
อ.ดร.นพ.ยงยุทธ อธิบายว่าการปลูกถ่ายเปลี่ยนตับอ่อนนี้เป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย แต่ทำมานานแล้วในอเมริกา โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ.2509 แต่จนถึงทุกวันนี้ทั่วโลกมีผู้ได้รับการปลูกถ่ายเปลี่ยนตับอ่อนเพียง 23,000 คนเท่านั้น โดยราวๆ 17,000 คนอยู่ในอเมริกา และที่เหลือส่วนใหญ่จะอยู่ในยุโรป และมีประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาคดังกล่าวเล็กน้อยไม่มากนัก
      
“การเปลี่ยนตับอ่อนที่ทำ ใช้ตับอ่อนจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตายที่แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ แต่ในเมืองไทยยังมีอยู่ไม่มาก แต่ด้วยวิธีนี้ไม่เป็นที่แพร่หลาย การลงชื่อแสดงความจำนงขอรับบริจาคก็มีน้อยเช่นกัน ใน 10 ปีนี้ที่ไปลงนามที่สภากาชาดไทยเราพบคุณสมนึกคนเดียว ทางสภากาชาดเองก็เพิ่งจะกำหนดการจัดสรรอวัยวะตับอ่อนใน 5 ปีที่ผ่านมานี้เองเหมือนกัน ส่วนในเรื่องของการเอาตับอ่อนออกจากร่างกายผู้บริจาคเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทีมแพทย์ที่ชำนาญเพราะมีเส้นเลือดมาก แถมตับอ่อนที่เอาออกมาก็ไม่ทน อย่างตับนี่อยู่ได้เป็น 10 ชั่วโมง แต่ตับอ่อนนี่ไม่กี่ชั่วโมงก็ตาย ต้องระวังและใช้ความชำนาญสูงพอสมควร ทั้งยังมีข้อจำกัดด้วยว่า ต้องเป็นผู้บริจาคที่อยู่ไม่ไกลพื้นที่ที่เราจะนำมาเปลี่ยนถ่าย เพราะตับอ่อนจะอยู่ข้างนอกร่างกายได้ไม่นาน แล้วต้องเป็นผู้บริจาคที่ไม่เป็นเบาหวาน ไม่มีประวัติตับอ่อนอักเสบจากการดื่มสุรา”
      
ด้านนายสมนึก ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนตับอ่อนสำเร็จเป็นคนแรก เล่าประวัติอาการป่วยให้ฟังว่า ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่1 ตั้งแต่อายุ 20 พอป่วยได้ 5 ปีก็เกิดภาวะไตวาย ต้องฟอกไต 3 วันต่อ 1 สัปดาห์ ครั้งละ 4-5ชั่วโมง คุณภาพชีวิตแย่มาก เพราะไหนจะต้องระวังเรื่องน้ำตาลที่สวิงตลอดเวลา ฉีดอินซูลินวันละ 4 ครั้ง แต่ก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าใดนัก บ่อยครั้งที่น้ำตาลต่ำจนช็อค และสูงขึ้นไปถึงหลักพัน แล้วยังต้องดูแลร่างกายตัวเองจากสภาวะไตวาย จนกระทั่งในพ.ศ.2550 ก็ได้รับบริจาคไตจากผู้ป่วยสมองตาย และผ่าตัดเปลี่ยนไต
      
“ก็ดีขึ้น ไม่ต้องไปฟอกไต แต่เบาหวานยังเป็นอยู่ จนกระทั่ง 29 ต.ค.ที่ผ่านมา มีผู้บริจาคตับอ่อน ผมโชคดีมาก พอผ่าแล้วฟื้นตัวออกจากโรงพยาบาล ระดับน้ำตาลปกติตลอด จากเดิมที่ต้องกังวลตลอดเวลาเกี่ยวกับระดับน้ำตาลก็ไม่ต้องกังวลอีก ตอนนี้ดูแลเฉพาะเรื่องกินยากดภูมิคุ้มกันเท่านั้น ชีวิตดีขึ้นมากครับ”
      
อ.นพ.สมชัยกล่าวถึงการผ่าตัดผู้ป่วยรายนี้ว่า เดิมนายสมนึกเคยปลูกถ่ายไตมาแล้ว และเคยปลูกถ่ายตับอ่อนมาแล้ว 1 ครั้งก่อนหน้านี้ แต่ไม่สำเร็จ ตับอ่อนใหม่ที่ใส่เพิ่มเข้าไปทำงานอยู่ 7 วันแล้วเกิดหลอดเลือดอุดตัน จึงต้องผ่าเอาออก คราวนี้ถือเป็นการเปลี่ยนตับอ่อนครั้งที่ 2 ระยะเวลาผ่าตัดประมาณ 3 ชั่วโมง เสียเลือดไม่มากและไม่ต้องให้เลือดเพิ่ม อาการดีจนไม่ต้องพักในห้องไอซียู หลังจากผ่าตัดสามารถพักฟื้นในหอผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายอวัยวะได้เลย และเพียงแค่ 1 วันตับอ่อนก็สามารถผลิตอินซูลินจนระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ ส่วนเรื่องการกินยากดภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้น เป็นธรรมดาของผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะทุกชนิดที่ต้องกินยาดังกล่าวเพื่อกดภูมิของร่างกายไม่ให้ต่อต้านอวัยวะใหม่ ซึ่งนายสมนึกกินยากดภูมิอยู่แล้วเพราะเปลี่ยนไต
      
“ส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท แต่คุณสมนึกเบิกโดยใช้สิทธิข้าราชการ จริงๆ ค่าผ่าตัดไม่ถึง แต่ที่แพงคือค่ายา มีอยู่ตัวหนึ่งราคาประมาณ 100,000 บาท โดยผู้ป่วยโรคนี้จะต้องกินยากดภูมิไปตลอดชีวิต ช่วงเดือนแรกหลังผ่าตัดจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องยานี้ประมาณ 2-30,000 บาท แต่หลัง 3 เดือนไปจะปรับให้น้อยลงคือเหลือประมาณ 10,000 บาท โดยยานี้เราจะปรับให้ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ถ้าเทียบแล้วการไม่ผ่าตัดและฉีดอินซูลินไปเรื่อยๆ กับการผ่าตัดแล้วต้องกินยากดภูมิ เชื่อว่าประการหลังคนไข้มีคุณภาพชีวิตดีกว่าแน่นอน”
      
อย่างไรก็ตาม ศ.คลินิกนพ.ธีรวัฒน์ กล่าวโดยสรุปว่า ต้องสร้างความเข้าใจให้ประชาชนทราบเพื่อจะไม่เข้าใจผิดว่า การปลูกถ่ายเปลี่ยนตับอ่อนนี้ จะใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เท่านั้น ถ้าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมะเร็งตับอ่อน เนื้องอกตับอ่อน และตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากการดื่มสุรา ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้ และหากเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิด1 ที่มีภาวะไตวายร่วมด้วยจะดีมาก ซึ่งในจำนวยผู้ป่วย 23,000 รายทั่วโลกที่เปลี่ยนตับอ่อนไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีภาวะไตวายร่วมด้วย และเปลี่ยนอวัยวะ 2 ชนิดไปพร้อมๆ กัน
      
“ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 300,000 บาท น่าจะถูกที่สุดในโลกแล้วครับ ถ้าเป็นต่างประเทศจะอยู่ที่ประมาณ 3,000,000 บาท ตอนนี้บัตรทองยังไม่ครอบคลุม จะเปลี่ยนฟรีเฉพาะไต ตับอาจจะต้องจ่ายเอง แต่เชื่อว่าถ้าวันนี้ออกสื่อไป ผู้ป่วยจะรับทราบมากขึ้น เข้าถึงการรักษาแบบใหม่นี้มากขึ้น และถ้ามีคนรักษามากขึ้น ก็อาจจะมีการบรรจุเอาไว้ในสิทธิประกันก็ได้ครับ” ศ.คลินิกนพ.ธีรวัฒน์ทิ้งท้าย